วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

การวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ด้วยวิธีการสังเกตและรับรู้ทางการมอง  
(Product and Package Visual Analysis)

ก่อนการดำเนินงานออกแบบผลิตภัณฑ์และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้แก่สินค้ายี่ห้อ หรือ ผู้ผลิตราย ใดๆนั้น ผู้ออกแบบหรือนักพัฒนาควรต้องมีการวางแผนการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นอย่าง เป็นระบบ ซึ่งโดย ทั่วไปในทางปฏิบัติการทางวิชาชีพของนักออกแบบบรรจุภัณฑ์นั้น อาจจะเป็น การวางแผนและใช้สื่อบันทึก การดำเนินงานเอาไว้อย่างคร่าวๆ ซึ่งอาจเป็นการเขียนแผนผังทาง ความคิด (Mind Mapping) เป็นแผ่นโน๊ตย่อๆ (Note Pad) แสดงหัวข้อไว้บนแผ่นกระดาน (Mood Board) เขียนหรือพิมพ์ไว้ในแผน ปฏิบัติการ ผ่านทางสมุด(Diary)หรือปฏิทินงาน(Calendar) ตามระยะเวลา (Design Plan or Timeline Operation Schedules) หากจัดทำเป็นรายงานสรุปในเชิงวิชาการก็ควรจัดทำให้สมบูรณ์เป็นลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน สามารถที่จะตรวจสอบ ติดตาม และสรุปผลออกมาได้จริง เช่น การที่ควรต้องเริ่มต้น ด้วยการวางกรอบแนวคิด หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า การสร้างกรอบการดำเนินงาน (Frame Work  or Over View) เอาไว้ เพื่อเป็นการกำหนดทิศทางภาพกว้างๆ ที่สามารถสื่อให้เห็นแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ


กรอบแนวคิดในการดำเนินงานออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์


ภาพแสดงการวางแผนกรอบแนวคิดของการดำเนินงานอย่างย่อโดยใช้ หลักการ 3 ส.  เพียง 3 ขั้นตอนเพื่อให้เห็นภาพรวมหรือเป็นจุดเริ่มต้น ของการที่จะดำเนินการคิดวางแผนงาน ในภาระกิจต่างๆ ที่จะ เกี่ยวข้องกับการอ้างอิงถึงการศึกษาข้อมูล ความรู้ ทฤษฎี หลักการ วิธีการ และแผนปฏิบัติการในเชิงลึก เฉพาะทางในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในลำดับต่อไป
การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตและรับรู้ทางการมองเห็นนั้น เป็นวิธีการศึกษา วิเคราะห์- วิจัยข้อมูลเบื้องต้น ที่นักวิจัยด้านการออกแบบสร้างสรรค์ แทบทุกสาขาอาชีพ ในขอบ ข่ายสายงาน ด้านการ
วิธีการที่จะตรวจสอบในสิ่งที่ต้องการหาคำตอบให้ได้นั้น นักออกแบบก็ควรต้องอาศัย องค์ความรู้ ต่างๆที่ได้เรียนรู้และมีประสบการณ์มา เพื่อที่จะประมวลสรุปผลออกมาให้ได้อย่างมี หลักการและเหตุผล ให้เป็นที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้เพราะนักออกแบบมีวิถีและวิธีการทำงานที่แตกต่างไปจากแนวทางการทำงานของศิลปินในขอบข่ายทางศิลปะบริสุทธิ์ (Pure Art) นั่น ก็คือการศึกษาวิจัย และค้นหาแนวทาง ที่เป็นไปได้จริง(Feasibility Study) หรือยึดกฏแห่งการใช้งานจริงภายในตัวผลงาน (Physical Fact and Workability or Functionality Study) ให้ได้ก่อนการยึดมั่นในหลักการทางความสวยความงามที่ปรากฏเห็นเป็นรูปลักษณ์ภายนอกอันเป็นประเด็นรองตามหลักการของการสร้างสรรค์ผลงานประเภทประยุกต์ศิลป์(Applied Arts) ดังนั้นในกระบวนการทำงานของนักออกแบบ จึงควรต้องแสดงหลักฐานหรือต้องมีสื่อแสดงให้เห็นซึ่ง วิธีการคิดวิเคราะห์ วิธีการแก้ปัญหา การใช้องค์ความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อแสดงทักษะการใช้เครืองมือและอุปกรณ์ช่วยการผลิต และเพื่อการนำเสนอผลงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการทำงานนั้นก็ต้องใช้เพื่อสื่อสารให้ผู้ร่วมงานอื่นๆ (Co-Producer) ได้ร่วมคิดร่วมสร้างความเข้าใจในเบื้องต้น  รวมถึงการสื่อสารไปให้ถึงผู้ใช้งานปลายทาง(End Users) ทั้งหลายนั้น นักออกแบบก็ต้องคิดวางแผน และคำนึงถึงเป็นการล่วงหน้าเอาไว้ด้วยเช่นกัน



ภาพที่ 2 ส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์สินค้าที่มองเห็นครีมนวดผม สุมนไพร มะกรูด
                 
หมายเลข 1  ฝาผลิตภัณฑ์
                 หมายเลข 2  โลโก้สินค้า
                 หมายเลข 3  ชื่อผลิตภัณฑ์
                 หมายเลข 4  ภาพประกอบสินค้า
                 หมายเลข 5  ส่วนผสมของสินค้า
                 หมายเลข 6  ปริมาณของสินค้า
                 หมายเลข 7  สรรพคุณขิงสินค้า
                 หมายเลข 8  สถานที่ผลิตและที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้

การศึกษาสินค้าคู่แข่ง
สินค้าของผู้ประกอบการ
propicture1592554162741.jpg
200911-25-102303-1.gif






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น