วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

การวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ด้วยวิธีการสังเกตและรับรู้ทางการมอง  
(Product and Package Visual Analysis)

ก่อนการดำเนินงานออกแบบผลิตภัณฑ์และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้แก่สินค้ายี่ห้อ หรือ ผู้ผลิตราย ใดๆนั้น ผู้ออกแบบหรือนักพัฒนาควรต้องมีการวางแผนการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นอย่าง เป็นระบบ ซึ่งโดย ทั่วไปในทางปฏิบัติการทางวิชาชีพของนักออกแบบบรรจุภัณฑ์นั้น อาจจะเป็น การวางแผนและใช้สื่อบันทึก การดำเนินงานเอาไว้อย่างคร่าวๆ ซึ่งอาจเป็นการเขียนแผนผังทาง ความคิด (Mind Mapping) เป็นแผ่นโน๊ตย่อๆ (Note Pad) แสดงหัวข้อไว้บนแผ่นกระดาน (Mood Board) เขียนหรือพิมพ์ไว้ในแผน ปฏิบัติการ ผ่านทางสมุด(Diary)หรือปฏิทินงาน(Calendar) ตามระยะเวลา (Design Plan or Timeline Operation Schedules) หากจัดทำเป็นรายงานสรุปในเชิงวิชาการก็ควรจัดทำให้สมบูรณ์เป็นลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน สามารถที่จะตรวจสอบ ติดตาม และสรุปผลออกมาได้จริง เช่น การที่ควรต้องเริ่มต้น ด้วยการวางกรอบแนวคิด หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า การสร้างกรอบการดำเนินงาน (Frame Work  or Over View) เอาไว้ เพื่อเป็นการกำหนดทิศทางภาพกว้างๆ ที่สามารถสื่อให้เห็นแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ


กรอบแนวคิดในการดำเนินงานออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์


ภาพแสดงการวางแผนกรอบแนวคิดของการดำเนินงานอย่างย่อโดยใช้ หลักการ 3 ส.  เพียง 3 ขั้นตอนเพื่อให้เห็นภาพรวมหรือเป็นจุดเริ่มต้น ของการที่จะดำเนินการคิดวางแผนงาน ในภาระกิจต่างๆ ที่จะ เกี่ยวข้องกับการอ้างอิงถึงการศึกษาข้อมูล ความรู้ ทฤษฎี หลักการ วิธีการ และแผนปฏิบัติการในเชิงลึก เฉพาะทางในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในลำดับต่อไป
การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตและรับรู้ทางการมองเห็นนั้น เป็นวิธีการศึกษา วิเคราะห์- วิจัยข้อมูลเบื้องต้น ที่นักวิจัยด้านการออกแบบสร้างสรรค์ แทบทุกสาขาอาชีพ ในขอบ ข่ายสายงาน ด้านการ
วิธีการที่จะตรวจสอบในสิ่งที่ต้องการหาคำตอบให้ได้นั้น นักออกแบบก็ควรต้องอาศัย องค์ความรู้ ต่างๆที่ได้เรียนรู้และมีประสบการณ์มา เพื่อที่จะประมวลสรุปผลออกมาให้ได้อย่างมี หลักการและเหตุผล ให้เป็นที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้เพราะนักออกแบบมีวิถีและวิธีการทำงานที่แตกต่างไปจากแนวทางการทำงานของศิลปินในขอบข่ายทางศิลปะบริสุทธิ์ (Pure Art) นั่น ก็คือการศึกษาวิจัย และค้นหาแนวทาง ที่เป็นไปได้จริง(Feasibility Study) หรือยึดกฏแห่งการใช้งานจริงภายในตัวผลงาน (Physical Fact and Workability or Functionality Study) ให้ได้ก่อนการยึดมั่นในหลักการทางความสวยความงามที่ปรากฏเห็นเป็นรูปลักษณ์ภายนอกอันเป็นประเด็นรองตามหลักการของการสร้างสรรค์ผลงานประเภทประยุกต์ศิลป์(Applied Arts) ดังนั้นในกระบวนการทำงานของนักออกแบบ จึงควรต้องแสดงหลักฐานหรือต้องมีสื่อแสดงให้เห็นซึ่ง วิธีการคิดวิเคราะห์ วิธีการแก้ปัญหา การใช้องค์ความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อแสดงทักษะการใช้เครืองมือและอุปกรณ์ช่วยการผลิต และเพื่อการนำเสนอผลงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการทำงานนั้นก็ต้องใช้เพื่อสื่อสารให้ผู้ร่วมงานอื่นๆ (Co-Producer) ได้ร่วมคิดร่วมสร้างความเข้าใจในเบื้องต้น  รวมถึงการสื่อสารไปให้ถึงผู้ใช้งานปลายทาง(End Users) ทั้งหลายนั้น นักออกแบบก็ต้องคิดวางแผน และคำนึงถึงเป็นการล่วงหน้าเอาไว้ด้วยเช่นกัน



ภาพที่ 2 ส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์สินค้าที่มองเห็นครีมนวดผม สุมนไพร มะกรูด
                 
หมายเลข 1  ฝาผลิตภัณฑ์
                 หมายเลข 2  โลโก้สินค้า
                 หมายเลข 3  ชื่อผลิตภัณฑ์
                 หมายเลข 4  ภาพประกอบสินค้า
                 หมายเลข 5  ส่วนผสมของสินค้า
                 หมายเลข 6  ปริมาณของสินค้า
                 หมายเลข 7  สรรพคุณขิงสินค้า
                 หมายเลข 8  สถานที่ผลิตและที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้

การศึกษาสินค้าคู่แข่ง
สินค้าของผู้ประกอบการ
propicture1592554162741.jpg
200911-25-102303-1.gif






วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2558

ความหมายของการออกแบบบรรจุภัณฑ์

S__3768514.jpg

บรรจุภัณฑ์คืออะไร
   “บรรจุภัณฑ์” หมายถึง สินค้าทุกชนิดที่ทำจากวัสดุใดๆ ที่นำมาใช้สำหรับห่อหุ้ม ป้องกัน ลำเลียง จัดส่ง และนำเสนอสินค้า ตั้งแต่วัตถุดิบถึงสินค้าที่ผ่านการผลิต ตั้งแต่ผู้ผลิตถึงผู้ใช้หรือผู้บริโภค
   “บรรจุภัณฑ์” ประกอบด้วย บรรจุภัณฑ์สำหรับการขาย (Sales packaging) หรือบรรจุภัณฑ์ลำดับที่หนึ่ง ได้แก่บรรจุภัณฑ์ที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของการขายของให้กับผู้ใช้รายสุดท้ายหรือผู้บริโภค ณ จุดซื้อ บรรภัณฑ์กลุ่ม (Group packaging) หรือบรรจุภัณฑ์ลำดับที่สอง ได้แก่บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ที่จุดซื้อกลุ่มสินค้าที่มีจำนวนขายมากกว่าหนึ่ง ไม่ว่าสินค้านั้นจะถูกขายให้กับผู้ใช้รายสุดท้ายหรือผู้บริโภคหรือไม่ก็ตาม และไม่ว่าบรรจุภัณฑ์นี้จะถูกใช้เพื่อการดึงสินค้าจากชั้นวางของ ณ จุดขายก็ตาม บรรจุภัณฑ์นี้สามารถถูกดึงออกจากสินค้าโดยไม่ส่งผลกระทบต่อลักษณะเฉพาะตัวของสินค้า บรรจุภัณฑ์สำหรับการขนส่ง หรือบรรจุภัณฑ์ลำดับที่สาม ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ที่ใช้สำหรับช่วยในการลำเลียงและขนส่งสินค้า ที่ขายจำนวนมากหรือกลุ่มบรรจุภัณฑ์ เพื่อป้องกันความเสียหายทางกายภาพระหว่างการขนส่ง บรรจุภัณฑ์สำหรับการขนส่งไม่รวมตู้คอนเทนเนอร์สำหรับการขนส่งทาง ถนน รางเลื่อน เรือหรือทางอากาศ

สรุป
    จะถือว่าของสิ่งหนึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ ต่อเมื่อของสิ่งนั้นเป็นไปตามความหมายที่กล่าวข้างต้น โดยไม่พิจารณาคาบเกี่ยวกับหน้าที่อื่นที่บรรจุภัณฑ์อาจทำได้ เว้นแต่สิ่งสิ่งนั้นจะถูกผนวกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสินค้า และมีความจำเป็นเพื่อห่อหุ้ม พยุง หรือถนอมรักษาสินค้าตลอดอายุของสินค้านั้น

อ้างอิ้ง : หนังสือความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์
ผู้เขียน : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชนัสสา  นันทิวัชรินทร์











S__3768516.jpg




ความหมายของบรรจุภัณฑ์
   คำว่า”บรรจุภัณฑ์”ได้กล่าวอ้างถึงอย่างกว้างๆ แต่มักจะมีการใช่ศัพท์คำว่า “ภาชนะบรรจุภัณฑ์”กับ “บรรจุภัณฑ์” อย่างสับสน คำถามมีอยู่ว่า “ภาชนะบรรจุ” กับ “บรรจะภัณฑ์” นั้นแตกต่างกันอย่างไรในที่นี้ ขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบระหว่าง ภาชนะบรรจุ กับบรรจุภัณฑ์
   ลองพิจารบบรจุภัณฑ์นำ้ปลา  การซื้อน้ำปลามาขวดหนึ่งจากร้านขายของชำ  ตัวขวดนั้นย่อมเป็ยบรรจุภัณฑ์ แต่เมื่อนำมาถึงบ้านเวลาบริโภค จะเทน้ำปลาใส่ถ้วยเล็กๆ ตามสัดส่วนที่ต้องการบริโภคถ้วยเล็กๆนั้นดั้งกล่าวนี้จึงเป็นภาชนะบรรจุ

สรุปคือ
   ภาชนะบรรจุ และ บรรจุภัณฑ์ ในภาษาไทยแล้ว ศัพท์ภาษาอังกฤษคำว่า packing และ packaging อาจจะก่อให้เกินความสับสนได้เช่นกัน โดยปกติคำว่า packing มีความหมายใกล้เคียงกับคำว่าบรรจุหีบห่อ กล่าวคือ packing สื่อความหมายถึงการบรรจุและห่อเพื่อการขนส่ง ในขณะที่ศัพท์คำว่า packaging มีความหมายกว้างกว่า และตรงกับศัพท์คำว่า บรรจุภัณฑ์ ในภาษาไทย หรื่อพูดอีกแบบหนึ่งคือ packing นับเป็นส่วนหนึ่งของ packaging นั้นเอง

อ้างอิ้ง:หนังสือความรู้ทั้วไปเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์
ผู้เขียน:ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมพร  คงเจริญเกียรติ
          :ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศุภณี  เรียบเลิศหิรัญ








S__3768520.jpg

ความหมายของการบรรจุภัณฑ์ (packaging)
         การบรรจุภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการตลาด โดยเฉพาะปัจจุบันที่การผลิตสินค้าหรือบริการได้เน้นหรือให้ความสำคัญกับผู้บริโภค และจะเห็นได้ว่า การบรรจุภัณฑ์มีบท บาทมากขึ้นเพราะลำพังตัวสินค้าเองไม่มีนวัตกรรม หรือการพัฒนาอะไรใหม่อีกแล้ว ฉีกแนวไม่ออกเพราะได้มีการวิจัยพัฒนากันจนมาถึงขั้นสุดยอดแล้ว จึงต้อมมาเน้นกันที่การบรรจุภัณฑ์การบรรจุหีบห่อ (packaging) บรรจุภัณฑ์กับหีบห่อ  (package) ถือว่าเป็นคำคำเดียวกัน  ทั้งนี้สุดแล้วแต่ผู้ใประสงค์จะใช่คำ

สรุปคือ
       packaging หมายถึง งานเทคนิคที่ต้องอาศัยความชำนาญ  ประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ ในอันที่จะออกแบบและผลิตหีบห่อให่มีความเหมาะสมกับสินค้าที่ผลิตขึ้นมาให้ความคุ้มครองสินค้า ห่อหุ้มสินค้าตลอดจนประโยชน์ใช่สอย เช่น ความสะดวกสบายในการหอบหิ้ว

อ้างอิ้ง : หนังสือการบรรจุภัณฑ์
ผู้เขียน : อาจารย์ดำรงศักดิ์  ชัยสนิท








S__3768523.jpg


Packaging also commonly known as. Packaging can be shown that a variety of morphologies. Like the look of the bag wrapped boxes of various shapes that are repeated a lot. It is difficult to say or how to define. It appears these things mean. Because the only one that involves packaging. It may be both an art and a science. Materials and tools is to prevent and protect. Law is to promote the production and processing of materials.

การบรรจุภัณฑ์ หรือที่มักเรียกกันทั่วไปว่า การบรรจุหีบห่อนั้นสามารถจะปรากฏเห็นเป็นหลากหลายรูปร่างลักษณะ เช่นรูปลักษณ์ของกล่องสี่เหลี่ยม ซอง ห่อของรูปร่างต่าง ๆ ที่มีลักษณะซ้ำ ๆ กันเป็นจำนวนมาก จึงเป็นการยากที่จะกล่าวหรือให้คำจำกัดความลงไปว่า สิ่งที่ปรากฏเหล่านี้มันหมายถึงอะไร เพราะในความเกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์เพียงหนึ่งอย่างนั้น อาจเป็นได้ทั้งศิลปะและวิทยาศาสตร์ วัสดุและเครื่องมือคือการป้องกันและคุ้มครอง คือการโฆษณาประชาสัมพันธ์ กฎหมาย การผลิตและกระบวนการจัดการเกี่ยวกับวัสดุ










S__3768526.jpg




Packaging is the science and art of packaging products using modern technology and environmentally friendly. In order to protect the product from the manufacturer to the customer safely with the cost of production.

The packaging is vital to the production of the product is to preserve and protect the quality of the product. Cover damages from dust, moisture and sunlight faded to facilitate transportation. Storage is quick Finally, the packaging for distribution is the first thing consumers see. The packaging must serve notice of the things of the product by telling all the necessary information of the product and then have a look at the beautifully inviting a purchase.

การบรรจุภัณฑ์คือศาสตร์และศิลป์ที่ใช้ในการบรรจุสินค้าโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อการคุ้มครองปกป้องสินค้าจากผู้ผลิตจนถึงมือลูกค้าอย่างปลอดภัยด้วยทุนการผลิตที่เหมาะสม

การบรรจุภัณฑ์มีความสำคัญต่อการผลิต ต่อสินค้า คือ การรักษาคุณภาพและปกป้องตัวสินค้า มิให้เสียหายจากการปกเปื้อนฝุ่นละออง ความชื้น แสงแดด และให้ความสะดวกในเรื่อการขนส่ง การจัดเก็บมีความรวดเร็ว และสุดท้ายการบรรจุภัณฑ์เพื่อการจัดจำหน่ายเป็นสิ่งแรกที่ผู้บริโภคเห็น ดังนั้นบรรจุภัณฑ์ต้องทำหน้าที่บอกกล่าว สิ่งต่างๆ ของตัวผลิตภัณฑ์โดยการบอกข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมดของตัวสินค้านอกจากนั้นต้องมีรูปลักษณ์ที่สวยงามสะดุดตาเชิญชวนให้เกิดการซื้อ

วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558



สรุปการเรียนการสอนครั้งที่ 3  วันที่ 21/1/2558
       
    อาจารย์ได้พูกถึงระบบประมวณผลตอนที่ทำแบบทดสอบก่อนเรียน,แบบสอบถาม และอธิบายให้ฟังที่ละข้อว่าคืออะไร ต่อด้วยการเฉลี่ยผลคะแนนสอบในชั่วโมงที่แล้วให้ดู  ผลคะแนนเฉลี่ยที่หาได้คือ 10.8 คะแนน และมีการแปลสรุปข่าวหน้าชั้นเรียนและติชมการนำเสนอ ของผู้ที่ออกไปอ่านหน้าชั้นเรียนพร้อมทั้งสอนการแปลสรุปข่าวเพิ่ม
 
  ได้รับรู้เรื่องราวของบรรจุภัณฑ์เพิ่มเติมจากข่าวหรือบทความที่เพื่อนนำมาเสนอวันนี้ที่ผมชอบคือบรรจุภัณฑ์ กลองรองเท่ารีไซย์เคิ้ลที่มี่ดีไซย์แปลกใหม่และทำจากกระดาษ และอีกอันคือ packaging ของลูกอมและลูกอมที่นำเสนอได้น่าสนใจมากเพราะในงานได้เพิ่มงานศิลปะ ที่สวยงามลงบนสินค้าทำให้เกิดความน่าสนใจ
 
  ช่วงท้ายชั่วโมงอาจารย์ให้ดูงานออกแบบ แบร์น และ ออกแบบโลโก้ของอาจารย์และบอกวิธีการทำพอสังเขปในบางขั้นตอนก็อธิบายอย่างละเอียดจึงทำให้ได้ความรู้เพิ่มเติ่ม
หลังจากนั้นอาจารย์ได้สอนพับกระดาษแบบโอริกามิ ที่เมือพับเสร็จจะออกมาเป็นภาชนะ

การบ้าน 
  -ให้หาวิธีพักกระดาษแบบโอริกามิ มาเพิ่มที่ไม่ซ้ำกับอาจารย์
  -ให้ไปศึกษาเรื่อง visual analysis  ที่เกี่ยวกับสปา

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปการเรียนการสอน ครั้งที่2        วันที่14/1/2558


 " google + ให่เข้ากลุ่ม art chandra  ที่ google+  และกดติดตามอาจารย์"

   อาจารย์ สอนเรื่อง google+ โดยสอนเพิ่มเติม เพราะบางคนอาจจะยังใช่ไม่เป็น  อาจารย์จึงแนะนำก่อนการเรียนการสอนให้ โปรแกรมที่สอนของ google+ เช่น
-mobile
-business
-media
      -youtube
      -lmage search
      -video search
-home&office
      -gmail.com

   ในการส่งไฟล์แต่ละครั้ง  ส่งได้ไม่เกิน 25 mb  ต่อครั้ง    การส่งงานให้คลิกที่ artd 3301-101-2-57  พอคลิกเข้าไปจะมี 2 โฟเดอร์ คือ โฟเดอร์แปลสรุปข่าว   และ  โฟเดอร์ ส่งงาน




การทำงานส่งทำดั้งนี้

หัวข้อเรื่อง


รูปที่นำมาอ้างอิ้ง


ภาพที่  1 พร้อมบรรยาใต้ภาพว่าเห็นผลใดจึงนำภาพมาว่าง
                                   
                                    ที่มา : ระบุที่มาใต้ภาพให้ชัดเจน

   ชื่อหัวข้อ ....................................
                 เนื้อหา......................................................................................................................
                             (ห้ามกรอปบทความเกิน 4 บรรทัดต่อหนึ่งครั้ง)
                             (ให้แก้ไขหลังจากวางบทความที่กรอปมาทุกครั้ง )
  อ้างอิง............

  เว็บที่ต้องใช้สอบ  thaiteachers.info

วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปการเรียนการสอน  7/1/2558

         เว็บบล็อคสนับสุนนการเรียนรู้วิชาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ; ผู้สอน ผศ.ประชิต  ทินบุตร
(ต้องใช้ gmail.com เท่านั้นในการเรียนการสอน)
- packaigngdsigncourse.blogspot.com
- thedieline.com
- packaging pinterest

เว็บที่สามารถติดต่ออาจารหรือใช่เพื่อศึกษางาน
- Thaifont.info
- prachid 2009 @ gmail.com

ข้อตกลงนการเรียนการสอน
- ลงชื่อเข้าชั้นเรียนก่อน 9 โมง
- แต่งการในชุดนักศึกษาให้เรียบร้อย

การบ้าน
-สมัคร gmail พร้อมสร้าง blogspot ชื่อที่ตั้งต้องตั้งตามนี้ (artd 3301 ตามด้วยชื่อจิงblogspot.com )
-แปลบทความเกี่ยวกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์จากอินเตอร์เน็ต(พร้อมสรุปและเขียนลง blog และ          รายงานหน้าชั้นเรียนไม่เกิน 7 นาที)
-งานกลุ่ม  สร้างไฟล์  google docs  และแนะนำสมาชิกในกลุ่ม  พร้อมตั้งชื่อกลุ่ม และบอกหน้าที่ขอแต่ละคน
-ทำแบบสำรวจข้อ 1-3

การเตรียมตัวเรียนในอาทิตย์หน้า
- กระดาา a 4
-สมุดบันทึกงาน
- อุปกรณ์ต่างๆ เช่น มีด ดินสอ
- เตรียมกระดาษสี ขนาด 8*8